การสอบวิทยานิพนธ์
การสอบวิทยานิพนธ์
หลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการสอบวิทยานิพนธ์
1. การสอบวิทยานิพนธ์ของนิสิตที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 จะกระทำได้เมื่อเป็นไป ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ :-
1) ลงทะเบียนรายวิชาครบตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
2) โครงร่างวิทยานิพนธ์ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารคณะเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนวัน สอบวิทยานิพนธ์
3) มีหลักฐานแสดงว่า ได้ส่งบทความวิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งใช้วารสารทางวิชาการพิจารณาเพื่อการตีพิมพ์ แล้วหรือได้รับการตอบรับให้ไปเสนอผลงานต่อที่ประชุมวิชาการแล้ว
2. คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
1) จำนวน - ปริญญาโท จำนวน 3 - 5 คน
- ปริญญาเอก จำนวน 5 -7 คน
2) องค์ประกอบ ต้องประกอบด้วย
2.1 ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือผู้ที่ประธานฯ มอบหมายเป็นประธาน
2.2 อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก และ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม กรณีนี้ให้นับเป็น 1 คน
2.3 ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย อย่างน้อย 1 คน
2.4 สำหรับปริญญาเอก ต้องมี อาจารย์ประจำ อย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการสอบด้วย ส่วนปริญญาโท อาจมีอาจารย์ประจำเป็นกรรมการสอบด้วยหรือไม่ก็ได้ กรณีที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ ทางวิชาการ อาจแต่งตั้งกรรมการสอบให้มีจำนวนมากกว่าที่กำหนดไว้ได้
3. กรณีที่กรรมการสอบไม่สามารถเข้าร่วมสอบได้
ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยทำให้ประธานหรือกรรมการไม่อาจเข้าร่วมการสอบวิทยานิพนธ์ได้ อาจมีการจัดสอบวิทยานิพนธ์ผ่านเครือข่ายระบบสารสนเทศหรืออาจมีการประเมินวิทยานิพนธ์เป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องชี้แจงเหตุผลและแจ้งผลการประเมินต่อประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ล่วงหน้าก่อนเวลาสอบวิทยานิพนธ์
4. การเปลี่ยนหัวข้อวิทยานิพนธ์ตามมติคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
ให้ประธานคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ แจ้งบัณฑิตวิทยาลัยและสำนักงานการทะเบียน เพื่อทราบ
5. การประเมินผลการสอบวิทยานิพนธ์
การประเมินผลการสอบวิทยานิพนธ์ ให้ประธานและกรรมการสอบวิทยานิพนธ์มีคะแนนเสียงคนละหนึ่งเสียง ยกเว้นกรณีของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ให้นับรวมกันเป็นหนึ่งเสียง โดยให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัย ในกรณีที่มีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด เว้นแต่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควรกำหนดวิธีการประเมินผลการสอบวิทยานิพนธ์ไว้เป็นอย่างอื่น โดยต้องประกาศให้ทราบเป็นการล่วงหน้า
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
1. คุณสมบัติของคณาจารย์บัณฑิตศึกษาตามข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2551
2. การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะที่ประสงค์จะแต่งตั้ง อาจารย์ประจำฯ / ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโปรดส่งแบบเสนอขอแต่งตั้งฯ F-EQ23 และ F-EQ24 ที่ผ่านความเห็นชอบ จากคณะกรรมการบริหารคณะให้บัณฑิตวิทยาลัยก่อนมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน ทั้งนี้ เพื่อบัณฑิตวิทยาลัยจะได้เสนอมหาวิทยาลัยพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อไป
3. การประเมินวิทยานิพนธ์
การประเมินผลการสอบวิทยานิพนธ์ ให้ประธานและกรรมการสอบวิทยานิพนธ์มีคะแนนเสียงคนละหนึ่งเสียง ยกเว้นกรณีของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ให้นับรวมกันเป็นหนึ่งเสียง โดยให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัยในกรณีที่มีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด เว้นแต่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควรกำหนดวิธีการประเมินผลการสอบวิทยานิพนธ์ไว้เป็นอย่างอื่น โดยต้องประกาศให้ทราบเป็นการล่วงหน้า