21 หลักสูตรปริญญาโท-เอก ร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตศึกษาสู่ OBE รุ่น 4”
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ จัดโครงการสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นฐาน (Outcome-Based Education; OBE) ตามเกณฑ์มาตรฐานระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565" รุ่นที่ 4 เมื่อวันที่ 27 - 29 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมโนโวเทล มารินา แอนด์ เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตรโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้และคุณลักษณะบัณฑิตที่หลักสูตรคาดหวัง และเพื่อร่างหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 เพื่อให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่หลักสูตรกำหนด ให้แก่หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีรศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย และคณะกรรมการร่างกฎกระทรวงและกฎหมายลำดับรอง ว่าด้วยเกณฑ์มาตรฐานระดับหลักสูตรและคุณวุฒิ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวเปิดงานและบรรยายเรื่อง "การตรวจสอบการดำเนินการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา" และได้รับเกียรติจากทีมวิทยากร จำนวน 8 ท่าน ประกอบด้วย ศ.นพ.สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล ประธานอนุกรรมการการจัดทำกฎหมายลำดับรองด้านมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ศ.พญ.จุไรพร สมบุญวงค์ รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ด้านวิชาการ (กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพและกลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี) WFME Assessor ของสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ และ EdPEx Assessor ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) รศ.ดร.วิมลวรรณ พิมพ์พันธุ์ คณะวิทยาศาสตร์ (AUN-QA Lead Assessor) ผศ.ดร.ธนสิน ชุตินธรานนท์ คณะนิเทศศาสตร์ (OBE & BCD Facilitator) ศ.ดร.เนาวนิตย์ สงคราม รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ด้านวิชาการ (กลุ่มมนุษยศาสตร์/สังคมศาสตร์) ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านวิชาการ การเรียนการสอน และประกันคุณภาพหลักสูตร และ อ.นพ.วรพล จรูญวณิชกุล ผู้ช่วยอธิการบดี งานวิชาการด้านมาตรฐานหลักสูตรและนวัตกรรมหลักสูตร และนางสิริลักษณ์ ยอดแสง ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัย ได้ร่วมในการบรรยายเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างเข้มข้น โดยเน้นย้ำในหลักการ กระบวนการ และข้อควรระมัดระวัง พร้อมทั้งให้คำแนะนำปรับแก้ไขหลักสูตรจริงอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องตามเกณฑ์ฯ
การสัมมนาครั้งนี้มี 3 คณะ 21 หลักสูตร เข้าร่วมการอบรมฯ ประกอบด้วย คณะเภสัชศาสตร์ 4 สาขาวิชา (8 หลักสูตร) คณะครุศาสตร์ 6 สาขาวิชา (10 หลักสูตร) และคณะอักษรศาสตร์ 2 สาขาวิชา (3 หลักสูตร) โดยมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และเจ้าหน้าที่หลักสูตร รวมจำนวน 26 คน เข้าร่วมอบรมสัมมนาและฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 ต่อไป
เอกสารแนบ :